ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

ปีพุทธศักราช 2497 กรมอาชีวศึกษา จัดตั้งโรงเรียนช่างไม้ปัตตานี และโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานีขึ้น ที่บริเวณถนนสะบารัง ริมคลองสามัคคี ทั้งโรงเรียนช่างไม้ และโรงเรียนการช่างสตรี ใช้อาคารเก่าของโรงเรียนเบญจมราชูทิศปัตตานี (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย บริเวณหอสมุดเฉลิมราชกุมารี ปัจจุบัน) พื้นที่ยาวตั้งแต่สะพานสามัคคีไปจรดหมู่บ้านสะบารัง ในปีนี้นายสนั่น  สุมิตร ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษา นายสุชาติ  บุญยรัตน์พันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายเถียร พรหมภัตต์ ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี เปิดรับนักเรียนรุ่นแรกดำเนินการโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีนางสาวไพจิตร  เศวตวรรณดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนการช่างสตรีคนแรก ซึ่งย้ายมาจากโรงเรียนการช่างสตรีนครศรีธรรมราชมีครูที่ทำการสอน ๒ คน คือ คุณครูขนิษฐ์มโรหบุตร ย้ายมาจากโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา และคุณครูสมพร  ประสพศุกร์(หวานจิตต์) ได้รับการบรรจุใหม่

          ปีการศึกษา ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดทำการสอนโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี เปิดสอนเย็บปักถักร้อย งานฝีมือ ทำอาหาร ดอกไม้สดมีนักเรียนประมาณ ๖๐ – ๗๐ คน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จ้างเรียนคนละ ๓๐ บาทต่อเดือน ครูประจำชั้นมีหน้าที่จ่ายเงินให้เปิดสอน ๒ระดับคือ๑)ระดับมัธยมต้น (แผนกการช่างสตรี) หลักสูตร ๒ ปี (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่๔และ ๒)ระดับมัธยมศึกษา (แผนกการช่างสตรี)หลักสูตร๓ปี (เทียบเท่าชั้นมัธยมปีที่๖) รับนักเรียนที่จบมัธยมปีที่๓

          ครูใหญ่ไพจิตร  เศวตวรรณ อยู่ได้ ๑ ปี ในปี พุทธศักราช ๒๔๙๘ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนการช่างสตรีนครปฐม และเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๘กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งนางขนิษฐ์  มะโรบุตร ครูโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี ให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และได้ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๒ รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และอาจารย์ใหญ่ทั้งสิ้น ๒๔ ปี

          ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ กรมอาชีวศึกษาให้จัดหาที่ดิน เป็นที่จัดตั้งโรงเรียนการช่างชายปัตตานีและโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี โรงเรียนการช่างชายปัตตานีได้ที่ดินอยู่ตรงสี่แยกวงเวียนหอนาฬิกา (ที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิคปัตตานีในปัจจุบัน) เนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ และโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี ได้ที่ดินราชพัสดุติดกับโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีในปัจจุบัน) มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ กรมอาชีวศึกษาได้ตั้งงบประมาณเพื่อซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนเป็นเงิน๓๕๑,๒๒๐บาท (สามแสนห้าหมื่นหนึ่งพันสองร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

          ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ – ๒๕๐๒ ได้รับงบประมาณเพื่อถมที่และสร้างอาคารเรียน ลักษณะอาคารเรียนที่สร้างเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ๑ หลังและอาคารครัว ๑ หลังแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒

          ปีพุทธศักราช๒๕๐๒ โรงเรียนได้ย้ายจากอาคารเรียนเดิมมายังสถานที่ใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๒ สถานที่ใหม่ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๐ ถนนสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๒ไร่ ๓ งาน ๔๒ ตารางวา ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง และลดชั้นเรียนมัธยมศึกตอนต้น โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ปีพุทธศักราช๒๕๐๗ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเรือนไม้ใต้ถุนสูง ๑ หลัง

          ปีการศึกษา ๒๕๐๘ โรงเรียนได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในโครงการขององค์การยูนิเซฟ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ ๕ ปี ได้เปิดแผนกวิชาต่าง ๆ คือ แผนกวิชาผ้าและการตัดเย็บแผนกวิชาอาหารและโภชนาการแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป และแผนกวิชาศิลปหัตถกรรม ๓ สาขา ได้แก่ช่างเครื่องเคลือบดินเผาช่างหนังช่างโลหะรูปพรรณ รวมเรียกว่า แผนกคหกรรมศาสตร์ เปิดสอนวิชาเลือกเสริมสวยการทำดอกไม้แห้ง เย็บปักถักร้อยและอื่น ๆ

          ปีพุทธศักราช๒๕๐๘ ได้รับงบประมาณสร้างโรงหัตถกรรม ๑ หลัง ให้ใช้ในการเรียนหัตถกรรม

            ปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ งดรับนักเรียนในชั้นมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูงปีที่ ๑ ปีที่ ๒ และปีที่ ๓ ลงตามลำดับ

          ปีพุทธศักราช๒๕๐๙ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง เป็นเรือนไม้

          ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้สร้างอาคาร เรือนปฏิบัติการ ๑ หลัง

          ปีการศึกษา ๒๕๑๑ รับนักเรียนชั้น ม.ศ.๓ เข้าเรียนชั้น ม.ศ.๔ สายอาชีพเพียงอย่างเดียว

          ปีการศึกษา ๒๕๑๖ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาปัตตานี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖

            ปีการศึกษา ๒๕๑๘ เริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘ มีหลักสูตร ๒ ปี (ม.ศ. ๔ และ ม.ศ. ๕)

          ปีการศึกษา ๒๕๑๙ กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดแผนกวิชาพณิชยการอีก ๑ แผนกวิชา และปีนี้ได้ยุบแผนกวิชาศิลปหัตถกรรม

          ปีการศึกษา ๒๕๒๐ เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช ๒๕๒๐ หลักสูตร ๓ ปี

          ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารตึกคหกรรมศาสตร์ เป็นอาคาร ๒ ชั้น เต็มตามโครงการ ๑ หลัง

          ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ กรมอาชีวศึกษามีโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ โดยโครงการเงินกู้ของธนาคารโลกที่จังหวัดปัตตานีเป็นแห่งแรกของเขตการศึกษา ๒ เขต ๔ จังหวัดภาคใต้เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนวิชาชีพของโรงเรียนสายสามัญในจังหวัดปัตตานี และในจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในระยะ ๑๕ กิโลเมตร กรมอาชีวศึกษามอบหมายให้นายพิเชษฐ์  คงทน ผู้อำนวยการกองวิทยาลัยเทคนิคขณะนั้น และเจ้าหน้าที่มาสำรวจพื้นที่และในที่สุดได้ดำเนินการปลูกสร้างตึกศูนย์ฝึกวิชาชีพปัตตานีแล้วเสร็จใน พุทธศักราช ๒๕๒๔ โดยใช้พื้นที่ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี

          ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งนางสาวรัตนา  รัตนโกมล ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

          ปีการศึกษา ๒๕๒๒ กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนอาชีวศึกษาปัตตานี เปิดสาขาวิชาพณิชยการ ภาคนอกเวลา ๑ ห้องเรียน

          ปีการศึกษา ๒๕๒๔ กรมอาชีวศึกษาได้กำหนดให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช๒๕๒๔เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง ๓ ปี

          ปีการศึกษา ๒๕๒๕ กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้โรงเรียนอาชีวศึกษาปัตตานี เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาการเงินการธนาคาร เพิ่มอีก ๑ สาขา และได้ยกฐานะจากโรงเรียนอาชีวศึกษาปัตตานี เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕

            ปีการศึกษา ๒๕๒๖ กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ๒ สาขา คือ สาขาวิชาการบัญชีและ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการซึ่งเป็นอาคาร ๔ชั้น๒๔ห้องเรียน

 

 

 

          ปีการศึกษา ๒๕๒๗ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษาให้เปิดรับนักศึกษาเพิ่มเติม คือ 1) ระดับ ปวช. เปิดสาขาวิชาศิลปะประยุกต์ 2) ระดับ ปวส.(พิเศษ)เปิดรับนักศึกษาทุกสาขาวิชา โดยรับจากนักศึกษาที่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่๖ สายสามัญที่เลือกเรียนแผนการเรียนวิชาชีพ 3) ระดับ ปวท. เปิดสาขาวิชาการบัญชี คหกรรมศาสตร์ทั่วไป ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4) ระดับ ปวส.เปิดสาขาวิชาอาหารและโภชนาการผ้าและเครื่องแต่งกาย

            ปีพุทธศักราช๒๕๒๙ กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งย้ายนางสาวรัตนา  รัตนโกมล ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี และแต่งตั้งนางกันยาอเนกชัย จากวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี

          ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ เป็นอาคาร ๔ ชั้น คือ อาคารคหกรรมศาสตร์ในปัจจุบันและได้รับงบประมาณสร้างโรงอาหาร และหอประชุมอีก ๑ หลัง

          ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งนางสมจิตต์  กะระณา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีต่อจากนางกันยา  อเนกชัย ซึ่งได้รับคำสั่งไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฝึกวิชาชีพปัตตานี

            ปีพุทธศักราช๒๕๓๑วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ได้งบประมาณสร้างอาคารแสดงและจำหน่ายผลผลิต ๑ หลัง

            ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งนางสินีนาฎ  ศิลปาจารย์ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ต่อจากนางสมจิตต์  กะระณา ซึ่งได้รับคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

            ปีพุทธศักราช๒๕๓๓ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ได้รับอนุมัติให้เปิดรับนักศึกษาระดับ ปวท. สาขาวิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์

            ปีการศึกษา ๒๕๓๗ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ได้รับอนุมัติให้ยุบ ปวท. สาขาวิชาการเงินและการธนาคารและเปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาใหม่ ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจโดยรับจากผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 6และระดับ ปวส. สาขาวิชาการเลขานุการ

          ปีการศึกษา ๒๕๓๗วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีได้เปิดทำการสอน ๓ หลักสูตร คือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)รายละเอียดการจัดการศึกษา มีดังต่อไปนี้

 

          1)หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นหลักสูตร ๓ ปี รับสมัครจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือเทียบเท่า มี๓ ประเภทวิชาดังนี้

                    (1) ประเภทวิชาคหกรรม มี ๑ สาขาวิชาคือ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ แยกเป็น ๓ กลุ่มวิชาได้แก่ กลุ่มวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไปกลุ่มวิชาอาหารและโภชนาการและกลุ่มวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย

                    (2) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม มี ๑ สาขาวิชาคือ สาขาวิชาพณิชยการ แยกออกเป็น ๓ กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการบัญชีกลุ่มวิชาการเลขานุการและกลุ่มวิชาการขาย

                    (3)ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม มี ๑ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม กลุ่มวิชาศิลปะประยุกต์

          ๒)หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นหลักสูตร ๒ ปี รับสมัครจากผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาที่รับสมัครเข้าศึกษามี ๒ ประเภทวิชา

                    (๑)ประเภทวิชาคหกรรมศาสตร์ มี ๓ สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไปสาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

                    (๒)ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ มี ๔ สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาการบัญชีสาขาวิชาการตลาดสาขาวิชาการเลขานุการและสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (รับผู้จบ ม.๖)

          ๓)หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) เป็นหลักสูตร ๒ ปี รับสมัครจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า

            ปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นางสินีนาฏ  ศิลปาจารย์ ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญกรมอาชีวศึกษา และแต่งตั้งนางโกสุม  สุทธิสิงห์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี เกษียณอายุราชการ ในปี พุทธศักราช ๒๕๔๑

            ปี พุทธศักราช ๒๕๔๑ กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งนางสาวถนอมศรี  รัฐบุตร จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี จนถึงปี พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งให้นางสาวถนอมศรี  รัฐบุตร ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต ช่วงนี้เป็นช่วงที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีมีอาคารพร้อมในจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาภายในอาคารและการจัดภูมิทัศน์ภายในวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ ห้องประชุม ห้องปฏิบัติงานห้องเรียนแผนกวิชาการเลขานุการ ห้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (Self – access learning) ห้องอินเตอร์เน็ตมีห้องหมอภาษาทดสอบการฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย และปรับปรุงพัฒนาให้สามารถฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย ได้ชัดเจนถูกต้อง ปรับปรุงเพิ่มสถานที่พักผ่อนและเพิ่มบรรยากาศให้ร่มรื่นน่าอยู่ยิ่งขึ้นเปิดร้านจำหน่ายอาหารกลางวันบุฟเฟ่ต์ ชื่อร้านเทียนทองบริการอาหารกลางวันแก่บุคคลภายนอก ราคาคนละ ๔๙ บาท เป็นที่ฝึกงานของนักเรียน สาขาวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และสาขาการโรงแรมและบริการ เริ่มส่งเสริมการทำโรตีกรอบและน้ำปรุงแกงส้ม ออกสู่ตลาด

            ปี พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งให้นางสงบ  พรหมจินดา จากวิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานีจนถึงปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งให้ นางสงบ  พรหมจินดา ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง ในช่วงนี้ธุรกิจโรตีกรอบได้รับการส่งเสริมให้ศิษย์เก่ายึดเป็นอาชีพในโครงการส่งเสริมศิษย์เก่าประกอบอาชีพอิสระส่งเสริมให้มีการแสดงดิเกร์ฮูลูของนักศึกษาจนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการกิจกรรมสร้างสรรค์เยาวชนไทยรับถ้วยรางวัลประทานจาก พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์ (การประกวดดิเกร์ฮูลู) ในปี ๒๕๔๘ช่วงนี้การรับนักเรียนใหม่มีนโยบายอยากเรียนสาขาใดต้องได้เรียน ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียน

          ปี พุทธศักราช ๒๕๔๗ เกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีผลกระทบด้านปริมาณผู้เรียน นักเรียนนอกพื้นที่ปัตตานี เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ไม่กล้ามาเรียน ผู้ปกครองบางส่วนย้ายถิ่น และส่งบุตรหลานไปเรียนจังหวัดอื่นวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ต้องปรับลดรอบการสอนไม่มีรอบบ่าย ชั่วโมงสุดท้ายแต่ละวันเลิกไม่เกิน ๑๗.๐๐ น.

          ปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งให้นางสาวพูลสุข  ธัชโอภาส จากวิทยาลัยการอาชีพกันตัง จังหวัดตรัง มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี จนถึงปีปัจจุบัน งานหลักยุคนี้สานต่อโครงการดี ๆ ที่ผ่านมา เช่น พัฒนาธุรกิจโรตีกรอบสู่อุตสาหกรรมโดยปรับปรุงอาคารเก็บพัสดุเปิดโรงงานในโรงเรียนผลิตจำหน่ายตลอดปี ปรับปรุงร้านอาหารเทียนทองเป็นร้านอาหารฮาลาลต้นแบบเปิดธุรกิจR paradise Spa ร้านบริการตัดเย็บเสื้อสตรี  ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ตรา “ครัวอาชีวะ” เชิงธุรกิจ ปีละ 1-2 ผลิตภัณฑ์ พัฒนาห้องเรียนตามสภาวการณ์ ในสาขาการตลาดสาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ในห้องเรียนทฤษฎีเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนและงานสนับสนุนการสอนปรับปรุงภูมิทัศน์ ขยายห้องเรียนระบบทวิภาคี เปิดสอนระดับปริญญาตรี สายปฏิบัติการ สาขาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ ในปีการศึกษา 2559

Scroll to Top