กว่าจะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี
  แนวคิดการจัดการศึกษาอาชีพได้มีมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอาชีพหัตกรรมมากขึ้นนอกเหนือไปจากอาชีพกสิกรรม การอาชีวศึกษา เริ่มอย่างเป็นระบบ
เมื่อได้รับการบรรจุในโครงการศึกษา   พ.ศ. 2441เป็นการศึกษาพิเศษซึ่งหมายถึง การเรียนวิชาเฉพาะ เพื่อให้เกิดความชำนาญ โดยในปี พ.ศ. 2452 การจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรงเรียนสามัญศึกษา สอนวิชาสามัญ และโรงเรียนวิสามัญศึกษา สอนวิชาชีพ เพื่อออกไปประกอบอาชีพ เช่น แพทย์ ผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ พาณิชยการ ครู เป็นต้น
  ในปี พ.ศ. 2453 ได้จัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษา 2 แห่งแรก คือ โรงเรียนพาณิชยการที่วัดมหาพฤฒาราม และ วัดราชบูรณะ ปี พ.ศ. 2456 จัดตั้งโรงเรียนเพาะช่าง
และปี พ.ศ. 2460 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแผนการศึกษาแห่งชาติ มีผลต่อการกำหนดการศึกษาอาชีพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 ได้กำหนดว่าโรงเรียนวิสามัญศึกษา ได้แก่ การศึกษาวิชาชีพ ซึ่งจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชยการเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับประกอบ การเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม ต่าง ๆ และในแผนการศึกษาแห่งชาติ
  พ.ศ. 2479 ได้ ปรากฏคำว่า “อาชีวศึกษา” เป็นครั้งแรกในระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ อาชีวศึกษาชั้นต้น อาชีวศึกษาชั้นกลาง
และอาชีวศึกษาชั้นสูง รับนักเรียนจากโรงเรียนสามัญศึกษาของทุกระดับประโยค ปี พ.ศ. 2481 มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสังกัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) ให้จัดตั้งกรมใหม่ขึ้น 2 กรม คือ
 
กรมสามัญศึกษา มีหน้าที่จัดการศึกษาสายสามัญ
กรมวิชาการ มีหน้าที่จัดการศึกษาสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 กอง
  ปี พ.ศ. 2484 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 ซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2484และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484 กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และตั้งกรมอาชีวศึกษาขึ้นแทนกรมวิชาการ ส่วนกองวิชาการเป็นกอง ๆ หนึ่งในกรมอาชีวศึกษา ดังนั้น กรมอาชีวศึกษา จึงได้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484
  การแบ่งส่วนราชการ แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ
 
สำนักงานเลขานุการกรม
กองโรงเรียนทำหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการโรงเรียนอาชีวศึกษา
กองวิชาการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับหลักสูตรแบบเรียน ทะเบียน การสอบไล่ และการออกประกาศนียบัตร
  ช่วงระหว่างมหาสงครามเอเชียบูรพา การอาชีวศึกษาได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ก่อให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ การสอน นักเรียนต้องหลบภัย จำนวนครู
และนักเรียนน้อยลง จนกระทั่งภาวะสงครามสงบลง รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494
  การอาชีวศึกษาได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายและมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยในแต่ละระดับกำหนดเวลาเรียนไม่เกิน 3 ปี
ปี พ.ศ. 2495 ได้มีพระราชกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการในกรมอาชีวศึกษา แบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กอง คือ
 
  1) สำนักงานเลขานุการกรม
  2) กองโรงเรียนการช่าง
  3) กองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม
  4) กองโรงเรียนเกษตรกรรม
  5) กองวิทยาลัยเทคนิค
  6) กองส่งเสริมอาชีพ
  7) กองออกแบบและก่อสร้าง
  ปี พ.ศ. 2497 กรมอาชีวศึกษาจัดตั้งโรงเรียนช่างไม้ปัตตานี และโรงเรียนการช่างสตรีปัตตานี ที่บริเวณถนนสะบารัง ริมคลองสามัคคี ทั้งโรงเรียนช่างไม้
 
  << อ่านต่อ >>
 
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยอาชีวศึกษาปตตานี เปนสถานศึกษาที่มุงเนน การจัดการศึกษาวิชาชีพบริการชุมชน
เสริมสร้างผู้ประกอบการใหมอยางมีคุณภาพไดมาตรฐาน บนความหลากลายทางวัฒนธรรม
พันธกิจ
1. ผลิตนักเรียน นักศึกษาด้านพณิชยกรรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคหกรรมและศิลปกรรม
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ผลิตกำลังคน กับสถานประกอบการ องค์กรวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน
3. บริหารจัดการวิชาชีพสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. สร้างผู้ประกอบการใหม่ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีคุณภาพ
5. ส่งเสริมการวิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการประกอบอาชีพ
ปรัชญา
ทักษะเด่น เน้นคุณธรรม เลิศล้ำวิชา พัฒนาสังคม
อัตลักษณ์
สถาบันพัฒนาวิชาชีพเพื่ออาชีพ
เอกลักษณ์
ทักษะอาชีพมาตรฐาน ใฝ่ใจบริการตรง
สีประจำสถานศึกษา
     
     
     
ดอกไม้จำสถานศึกษา